ภาษาไทยกับการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ม.3

เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษา ค้นคว้า ของนักเรียนระดับ ม.3

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประโยคสามัญ

ประโยคสามัญ

        ประโยคสามัญแบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย
        ประโยคสามัญ เป็นประโยคในภาษาไทย ตามข้อความแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
         1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
        คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงหนึ่งข้อความ หรือมีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว
        หลักภาษาไทยเรียกว่า เอกัตถะประโยค มาจาก เอก + อัตถะ + ประโยค (เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความเดียว เช่น
  • นักเรียนอ่านหนังสือ
  • คุณพ่อกลับบ้านตอนเย็น
  • แม่ค้าขายผักปลา
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาไม่ต้องมีกรรมมารับ ภาพ:ประโยคความเดียว1.jpg
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาต้องมีกรรมมารับ ภาพ:ประโยคความเดียว2.jpg
ตัวอย่าง ประโยคความเดียว "เป็น" เป็นกิริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์ ภาพ:ประโยคความเดียว4.jpg
        ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว
         2. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค)
        หลักภาษาไทยเรียกประโยคชนิดนี้ว่า อเนกัตถะประโยค ซึ่งมาจาก อน + เอก + อัตถะ + ประโยค (อน = ไม่ เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความไม่ใช่หนึ่งข้อความ นั่นคือ ประโยคมีข้อความมากกว่าหนึ่งข้อความ เช่น
  • เงินทองเป็นของหายากและมันคือแก้วสารพัดนึก
  • พิเชษฐ์ร่ำรวยมหาศาลแต่เขาเป็นคนตระหนี่มาก
  • ยุพดีผ่านการสอบมาได้เพราะเธอมีความเพียรพยายามสูง
        ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกันและเชื่อมประโยคด้วยคำสันธาน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว5.jpg
        ประโยคความรวม แบ่งย่อยได้เป็น 4 แบบ ดังนี้
        2.1 ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว 2ประโยคที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
        ก) ประธานหนึ่งคนทำกริยา 2 กริยาต่อเนื่องกัน เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว6.jpg
        ข) ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว7.jpg
        2.2 ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยค ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว8.jpg
        2.3 ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี กริยา 2 กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว9.jpg
        2.4 ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว10.jpg
         ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน ประโยคผลเสมอ และประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค          3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
        หลักภาษาไทยเรียกประโยคความซ้อนว่า สังกรประโยค (อ่านว่า สัง-กอ-ระ-ประโยค) แปลว่า ประโยคทีส่วนปรุงแต่งให้มีข้อความมากขึ้น เช่น
  • ครูให้รางวัลแก่นักเรียนที่ขยันตั้งใจเรียน (ขยายกรรม)
  • วิโรจน์เดินทางถึงบ้านเมื่อวานนี้เอง (ขยายกริยา)
  • นายแม่นภารโรงถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง (ขยายประธาน)
        ประโยคความซ้อน คือ ประโยคประกอบด้วยประโยคหลักหรือมุขประโยคและมีประโยคย่อยหรืออนุประโยคซ้อน อยู่ ประโยคย่อยนี้อาจทำหน้าที่ขยายประธาน ขยายกริยาหรือขยายกรรมในประโยคหลัก โดยมีประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม ให้มีรายละเอียดมากขึ้น
ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลัก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ภาพ:ประโยคความเดียว11.jpg
        ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)
        ประโยคย่อย หรืออนุประโยคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
        1. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
  • คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน
คนทะเลาะกัน ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
  • ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น
คนเอาเปรียบผู้อื่น ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว12.jpg
        2. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม เช่น
  • ดอกไม้ที่อยู่ในสวนข้างบ้านบานสะพรั่ง
ที่อยู่ในสวนข้างบ้าน ขยาย ดอกไม้
  • ฉันชอบเสื้อที่แขวนอยู่หน้าร้าน
ที่แขวนอยู่หน้าร้าน ขยาย เสื้อ
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว13.jpg
        3 ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาหรือวิเศษณ์ เช่น
  • เขาพูดเร็วจนฉันฟังไม่ทัน
จนฉันฟังไม่ทัน ขยาย เร็ว
  • ฉันหวังว่าคุณจะมา
ว่าคุณจะมา ขยาย หวัง
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว14.jpg
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์ เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว15.jpg
         ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ

สรุป ประโยคความซ้อน

  • ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค

ประโยคซับซ้อน

ประโยคซับซ้อน

         ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายความให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น
         ประโยคซับซ้อน เกิดจาก ประโยคสามัญ ที่แบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคสามัญดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย
        เพิ่มข้อความขยาย โดยมีหลักสำคัญ ดังนี้
         1. ตำแหน่งคำขยายในประโยค
        การขยายความในประโยคภาษาไทยนั้นส่วนขยายจะอยู่ด้านหลังข้อความที่จะไปขยาย เช่น
  • ตำรวจจำนวนห้านาย ประจำสถานีตำรวจนครเชียงใหม่ จับผู้ค้ายาบ้ารายใหญ่ที่ทางการ เคยทราบเบาะแสมาก่อนได้ เมื่อเช้าตอนสายวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนนี้เอง
ประโยคนี้ประธาน คือ ตำรวจ
ส่วนขยาย คือ จำนวนห้านาย ประจำสถานีตำรวจนครเชียงใหม่
ตัวแสดงหรือคำกริยา คือ จับ
ส่วนขยาย คือ ได้เมื่อเช้าตอนสายวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนนี้เอง
คำขยายกริยาเรียงไว้หลังกรรม หรือส่วนขยายกรรมเสมอ
กรรมในประโยคนี้ คือ ผู้ค้ายาบ้า
และส่วนขยายกรรม คือ รายใหญ่ที่ทางการเคยทราบเบาะแส
        มีข้อสังเกตยังหนึ่ง คือ ส่วนขยายกริยาที่บอกช่วงเวลาสามารถนำไปเรียงหน้าประธานในประโยคได้ด้วย ประโยคข้างต้นนี้เปลี่ยนแปลงได้ คือ
  • เมื่อตอนสายวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เดเอนนี้เอง ตำรวจจำนวนห้านายประจำสถานีตำรวจนครเชียงใหม่ จับผู้ค้ายาบ้ารายใหญ่ที่ทางการทราบเบาะแสมาก่อน
         2. ข้อระมัดระวังการวางคำขยาย
        การเรียงคำขยายเพื่อไม่ให้ความกำกวม หรือความคลาดเคลื่อน เพื่อสื่อสารได้ชัดเจน ควรให้คำขยายอยู่ใกล้กับคำที่จะไปขยาย ถ้าไม่เป็นเช่นนี้แล้วจะมีผลดังกล่าว เช่น
  • ผู้หญิงที่อุ้มลูกหมาหน้าตาคล้ายคุณเพิ่งเดินออกไปเมื่อครู่นี้เอง
แก้เป็น ผู้หญิงหน้าตาคล้ายคุณที่อุมลูกหมาเพิ่งเดินออกไปเมื่อครู่นี้เอง
  • หนังสือพิมพ์เป็นยามเฝ้ารัฐบาลที่ดี
แก้เป็น หนังสือพิมพ์ที่ดีเป็นยามเฝ้ารัฐบาล

ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน

        ประโยคความเดียวที่ซับซ้อนสามารถทำ ได้ดังนี้
         1. ความซับซ้อนในภาคประธาน ตัวประธานมีส่วนขยายที่เป็นคำและกลุ่มคำทำให้ประโยคความเดียว มีข้อความซับซ้อนขึ้น
        1.1 ประธานที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำนำหน้าด้วยการหรือความ หรือคำอาการนาม ตามด้วยส่วนขยาย เช่น
  • การรเฝ้าติดตามความเคลื่อไหวของกลุ่มดาวยามค่ำคืนทำให้พบดาวดวงใหม่
  • ความขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดเป็นผลให้ถึงจุดหมายปลายทาง
        1.2 ประธานที่ขีดเส้นใต้ มีคำและกลุ่มคำขยายประธาน ทำให้ความซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น
  • บ้านพักคนงานบริษัทหลังใหม่บนเนินเขาสร้างเสร็จแล้ว
  • รถเมล์สาย 40 คันสีแดงเข้มคาดสีเหลืองวิ่งเร็วมาก
         2. ความซับซ้อนในภาคแสดง
        2.1 มีคำกริยาเป็นกลุ่มคำหลายคำ เช่น
  • กระรอกตัวนั้นกระโดดไปที่ผลมะพร้าว มันพยายาม กัด แทะ เคี้ยว และกลืนกินเนื้อ มะพร้าวอย่างเอร็ดอร่อย
  • คนป่ากลุ่มนั้นต่างกระโดด โลดเต้น ร่ายรำ และร้องเพลงไปตามจังหวะกลอง
        2.2 มีคำกริยาเป็นส่วนขยายอยู่หลายแห่งในประโยค เช่น
  • นักรียนต่างขยันเตรียมตัวสอบไล่โดยทบทวนตำรา อ่านเนื้อหาและสรุปประเด็นพร้อมกับท่องจำอย่างเข้าใจ
  • เขาพยายามพายเรือลำเล็ก ๆ มาทางริมสระน้ำ โดยไม่รีบร้อนนัก
        ข้อควรระมัดระวังประการหนึ่ง ในประโยคมีประธานอย่างเดียว แต่ทำกริยา ประกอบหลายอย่าง ต้องใช้วิภาคสรรพนาม คือ คำว่า บ้าง หรือ บาง มาช่วย เช่น
  • ผู้โดยสารเข้าคิวกันซื้อตั๋ว ออกันขึ้นรถ มองหาผู้นัดหมาย และซื้อของฝากญาติมิตร
แก้เป็น ผู้โดยสารเข้าคิวกันซื้อตั๋ว บ้างออกันขึ้นรถ บ้างมองหาผู้นัดหมาย และ บ้างซื้อของฝากญาติมิตร
        วิภาคสรรพนาม คือ บ้าง ได้แก่ ผู้โดยสารนั่นเอง และทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคสั้น ๆ ดังกล่าว

ประโยคความรวมที่ซับซ้อน

        ประโยคความรวมที่ซับซ้อน คือ ประโยคความรวมที่มีข้อความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีประโยคความรวม ซ้อนกันหลายชั้น เช่น
  • ปรีชาไม่ชอบเล่นฟุตบอล แต่เขาชอบพนันฟุตบอล ดังนั้น เขามีปัญหาเรื่องการเงินและในที่สุดปรีชาหยุดการเรียนไปอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้น เป็นคำสันธานเชื่อมประโยคความรวมทั้ง 2 คู่เข้าด้วยกัน
  • บุญยืนเป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ ฉันจึงรับเขามาเลี้ยงดูด้วยความรักและส่งบุญยืนเรียนหนังสือ แต่ภายหลังเด็กคนนี้ขาดความเชื่อฟังฉันและไปคบเพื่อนที่เลว ดังนั้นเขาจึงติดยาเสพติดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง
แต่ เป็นคำสันธานเชื่อมประโยคความรวมทั้งหมด

ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน

        ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน เช่น
  • ประเสริฐเดินทางไปสงขลาโดยรถด่วนสายใต้ขบวนยาวเหยียดเพราะช่วงนั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ที่ทุกคนพากันเดินทางท่องเที่ยว
เพราะเป็นคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคความซ้อนเข้าด้วยกัน
  • ชายร่างผอมผิวคล้ำวัยกลางคนนั้นเดินเร็วมากจนฉันเดินตามแทบไม่ทัน แต่ขณะที่เขากำลังย่างขึ้นนั่งบนรถประจำทางสายปอ. 16 เมื่อฉันก้าวเท้าขึ้นรถคันนั้นพอดีเช่นกัน
แต่ เป็นคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคความซ้อนเข้าด้วยกัน
        ประโยคที่ซับซ้อน ประกอบด้วย ประโยคความเดียวและประโยคความซ้อน
  • พระราชาองค์นี้ทรงทศพิธราชธรรมดียิ่ง ดังนั้น ราษฎรจึงรักพระองค์จนพวกเขาสละชีพเพื่อพระองค์ได้
ประโยคความเดียว = พระราชาองค์นี้ทรงทศพิธราชธรรมดียิ่ง
ประโยคความซ้อน = ราษฎรจึงรักพระองค์จนพวกเขาสละชีพเพื่อพระองค์
คำเชื่อมระหว่างประโยคความเดียวและประโยคความซ้อน = ดังนั้น

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำ

ความหมายของคำ

           คำไทยเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ติดต่อสื่อสารกัน คำมีความหมายได้หลายอย่าง อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการนำไปใช้ในการสื่อสารกัน เมื่อเรียงเข้าประโยคจะมีความหมายเจตนาของผู้ส่งสาร
           ความหมายของคำแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ

           1.  คำที่มีความหมายโดยตรง เป็นคำที่ปรากฏในพจนานุกรม อาจมีได้มากกว่า 1 ความหมาย เช่น              
               ขัน   น. ภาชนะสำหรับตักน้ำหรือใส่น้ำมีหลายชนิด
                      ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว
                      ก. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่ หรือนกบางชนิด เช่น นกเขา
                      ก. หัวเราะ นึกอยากหัวเราะ
           คำที่มีความหมายโดยตรงยังมีข้อสังเกต ดังนี้

                      1.1 คำบางคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น
                           แข โสม ศศี ศศิธร นิศากร หมายถึง พระจันทร์
                           วจี วาจา วจี พจนา พจมาน ถ้อย หมายถึง คำพูด
                      อยากใฝ่ฝันอยากเอื้อมไปถึงโสม (หมายถึง พระจันทร์)
                      สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม (หมายถึง คำพูด)

                      1.2  คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ส่งสารใช้ผิดพลาดได้ จึงต้องระมัดระวังในการเลือกใช้คำให้เหมาะสมถูกต้อง คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
               
เพิ่ม-เติม    รัก-ชอบ  เช็ด-ถู
แออัด-คับคั่ง อวบ-อ้วน   แคะ-แงะ
เกลียด-ชัง  ยุบ-บุบ  โกรธ-แค้น
           ตัวอย่าง คำว่า รัก-ชอบ หมายถึง ความพอใจ
                      รัก หมายถึง พอใจอย่างผูกพัน ชื่นชมยินดี
                      ชอบ หมายถึง พอใจ
                      อาจารีย์ปฏิเสธการแต่งงานกับมงคล เพราะเธอไม่ได้รักเขาเพียงแต่ชอบแบบพี่ชายเท่านั้น

                      1.3  คำที่มีความหมายตรงกันข้าม จะช่วยเน้นให้เห็นความขัดแย้งกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น
โง่-ฉลาด  ทุกข์-สุข
อ้วน-ผอม รวย-จน
แพ้-ชนะ  ขึ้น-ลง
ขาว-ดำ  เข้า-ออก
ดี-ชั่ว สะอาด-สกปรก
สูง-ต่ำ ร้อน-หนาว
           ตัวอย่าง คำว่า รวย-จน
                      รวย หมายถึง มีมาก
                      จน หมายถึง ขาดแคลน
           บุญธรรมเป็นคนรวย แต่สมยศเป็นคนจน

           2.  คำที่มีความหมายโดยนัย เป็นความหมายของคำที่ไม่ปรากฏตามตัวอักษร แต่เมื่อกล่าวแล้วจะทำให้นึกไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายแฝงอยู่ในคำนั้น เช่น
                      หงส์ หมายถึง นกจำพวกเป็ด ลำตัวใหญ่ คอยาว (ความหมายโดยตรง)
                      หงส์ หมายถึง ผู้ดี ผู้มีศักดิ์ศรี (ความหมายโดยนัย)
           ตัวอย่าง คำว่า หงส์
                      หงส์ขาว หงส์ดำ เป็นพันธุ์ชนิดหนึ่งของหงส์ (ความหมายโดยตรง)
                      ถ้ามาลีรู้จักเลือกคบคนดี เธอจะเป็นหงส์ไปด้วย (ความหมายโดยนัย)

           คำที่มีความหมายโดยนัยยังมีข้อสังเกต ดังนี้
                      2.1 คำบางคำมีความหมายนัยประหวัด เมื่อกล่าวถึงแล้วจะไม่ได้นึกถึงความหมายโดยตรงแต่จะนึกไปถึงอีกสิ่งที่มีความหมายเกี่ยวโยงกันกับ คำนั้น เช่น
                      เธอมีปัญหาอะไรควรปรึกษาผู้ใหญ่
                      (ผู้ใหญ่ มีความหมายนัยประหวัดว่า ผู้ที่มีประสบการณ์มากเป็นที่พึ่งได้)
                      คิดจะเด็ดดอกฟ้าก็ต้องทำใจไม่กลัวความผิดหวัง
                      (ดอกฟ้า มีความหมายนัยประหวัดว่า หญิงผู้สูงศักดิ์)
                      2.2  คำที่มีความหมายเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบจะช่วยให้เกิดความรู้สึก หรือเห็นลักษณะของสิ่งนั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น
                      ลูกคือดวงใจของพ่อแม่
                      ดวงใจ หมายความว่า สิ่งสำคัญที่สุด (เปรียบเทียบกับใจซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย)
                      เธอสวยดุจเทพธิดา
                      เทพธิดา หมายถึง ความดีความสวยที่สุด (เปรียบเทียบกับความงามของเทพธิดา ซึ่งมีความสวยงามที่สุดบนสวรรค์)

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเขียนบันทึก
    การเขียนบันทึก  คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์
ความรู้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ
 วัน เวลาที่จดบันทึกได้ด้วย
     ประเภทของการเขียนบันทึก มี ๒ ประเภท ดังนี้
        ๑)การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็น
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยาย
ความรู้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็น
       ๒) การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราว
ส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทาง เพื่อ
เตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้สึก และข้อคิดเห็น
สิ่งที่ต้องมีในการบันทึกเหตุการณ์ คือ
๑)วัน เดือน ปี ที่บันทึก
๒)แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห็นมา
๓)บันทึกเรื่อง โดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตน ซึ่ง
อาจจะแสดงข้อคิดเห็น และสรุปไว้ด้วย
          การเขียนบันทึกจากการค้นคว้า เป็นการสร้างนิสัยรักการอ่าน
ฝึกย่อความป้องกันการลืม และประหยัดเวลา
๒. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก
    ๑) ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง
    ๒) บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ
    ๓) บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม
เป็นต้น
    ๔) ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรย่อ ขีด
เส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ
๓. วิธีการเขียนบันทึก
     ๑) ลำดับความให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่วกวน เช่น
         ตอนบ่ายง่วงนอนเพราะดูทีวีจนดึก จึงนั่งสัปหงก มาลีชวนไป
เล่นวิ่งเปี้ยวเลยหายง่วง เลิกเรียน  แล้วกลับบ้าน และช่วยคุณแม่ทำ
กับข้าว กลางคืนทำการบ้านเสร็จ แล้วรีบเข้านอน 
    ๒) ลำดับเหตุการณ์ เช่น
วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๑.๐๐ น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะฉันกำลังดูหนังสือ
เวลา ๑๑.๓๐ น. เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะโกนถามและบอกให้
ลดเสียง
เวลา ๑๑.๔๐ น. เสียงร้องเพลงดังมากขึ้นเหมือนจงใจจะแกล้งฉัน
เลยหยุดดูหนังสือ ไปทำงานอื่นแทน
     ๓) การเชื่อมโยง เช่น
  ตอนสายเสียงร้องเพลงดัง เวลาต่อมาเสียงร้องเพลงดังมากขึ้น ต่อ
มาจึงหยุดดูหนังสือ
    ๔) การเน้นใจความสำคัญ เช่น
  เริ่มเรื่อง ร้องเพลงเสียงดัง ตะโกนถาม ผล เสียงร้องเพลงดังขึ้น
  สรุป เลิกดูหนังสือ หันไปทำงานอื่น ผล เหตุการณ์สงบ
ตัวอย่างการเขียนบันทึกเหตุการณ์
       กระทรวงการคลังได้ข้อยุติในมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วย
เหลือ สังคม และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ
ไทย รมว. คลังได้สั่งให้กรมสรรพากรหักค่าลดหย่อนสำหรับการ
เลี้ยงดูบุพการี โดยคนที่เลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเอง สามารถนำค่าใช้
จ่ายที่เกิดขึ้นมาหักเป็น ค่าลดหย่อนได้ คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท โดย
บุพการีที่เลี้ยงดูนั้นไม่จำเป็น ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ตัวอย่างการเขียนบันทึกประจำวัน
        วันนี้ฉันไปโรงเรียนตั้งแต่ ๖.๕๔ น. เพื่อไปรดน้ำผักบุ้งที่แปลง
ผักหลังอาคารเรียน ฉันยืนมองผักบุ้งที่แตกยอดอวบงามแล้วรู้สึก
ภูมิใจมากที่ฉันสามารถปลูกผักได้งอกงามด้วยมือของตัวฉัน
       ๘.๐๐ น. เรียนวิชาภาษาไทยกับคุณครูอัญชลีพร วันนี้เราเรียน
เรื่องการใช้สำนวนภาษาในการสื่อสารกัน คุณครูอัญชลีพรให้ฉัน
ยกตัวอย่างสำนวน ๑ สำนวน ฉันยกตัวอย่างสำนวนว่า เป็นฟืน
เป็นไฟซึ่งหมายถึงอาการโกรธอย่างรุนแรง เพื่อนก็หัวเราะ และล้อ
ฉันว่าฉันคงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ถ้าหากใครไปทำให้แปลงผักบุ้ง  
 เสียหาย ฉันยิ้มรับและหัวเราะ

เทคนิคการเขียนบันทึกและประโยชน์ของการเขียนบันทึก
1.เขียนบรรยายสถานที่ที่เราไปในแต่ละวัน  ลมฟ้าอากาศในวันนั้นๆ (ฝึกการบรรยาย)
2.อธิบาย ความรู้สึกของเราในเหตุการณ์ต่างๆ หรือการพบปะกับผู้คน (ฝึกการสังเกตผู้คนและตนเอง ทำให้สามารถสร้างตัวละคร ได้อย่างมีมิติสมจริง  และฝึกการเขียนบทสนทนา  ในกรณีที่จดจำคำพูดที่ได้ยินได้ฟังมา  ซึ่งบางครั้งสร้างความประทับใจ  เศร้า ซึ้ง  โกรธ  เกลียด ซ้ำบางทีอาจได้ประโยคเด็ดจากบุคคลนั้นมาบันทึกไว้อีกด้วย)
3.เหตุการณ์ ประสบการณ์ที่เราพบเจอ  บางครั้งอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดพล๊อตเรื่องเด็ดได้อีกด้วย


อ่านต่อ : http://www.thaigoodview.com/node/18225

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แนวทางการเขียนนวนิยาย

การเขียนนวนิยาย

๑. ประเภทของนวนิยาย

การ แบ่งประเภทของนวนิยาย ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัว ไม่มีทฤษฎีใด ๆ มาบอกว่าใครแบ่งถูกหรือผิด บางคนก็แบ่งได้มากและละเอียดยิบ บางคนก็แบ่งเอาง่าย ๆ คร่าว ๆ ไม่มีไม่มีใครว่ากัน แต่ความสำคัญและจำเป็นของการแบ่งประเภทของนวนิยายเท่าที่เห็นแน่ ๆ ก็คือ มันง่ายต่อการทำตลาด และเหมาะสำหรับนักเขียนใหม่ ที่ควรจะรู้เอาไว้เป็นแนวในการเขียนเท่านั้น แต่ก็อีกแหละ ...เวลานักเขียนเขาเขียนนวนิยายจะไม่มัวมาขีดเส้นแบ่งหรอกว่า กำลังเขียนนวนิยายประเภทไหนอยู่ เพราะมันใช้ร่วมกันได้ ดังนั้นการแบ่งในที่นี้จึงขอแบ่งกว้าง ๆ ดังนี้
•  นวนิยายรัก ( Romance fiction ) เป็น นวนิยายที่มีเรื่องราวของความรักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นแกนกลางของ เรื่อง จะเป็นเรื่องที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเป็นสำคัญ นวนิยายประเภทนี้มีมากที่สุดในตลาดนวนิยาย และพล็อตเกี่ยวกับความรักก็จะสอดแทรกเข้าไปอยู่ในนวนิยายเกือบทุกประเภท
•  นวนิยายลึกลับ ( Mystery fiction ) จะเน้นไปที่นวนิยายประเภทสืบสวนสอบสวน หรือเป็นนวนิยายนักสืบ
•  นวนิยายสยองขวัญ (Horror fiction) เป็น นวนิยายที่เสนอเรื่องสยองขวัญระทึกขวัญเช่นเรื่องเกี่ยวปีศาจ สัตย์ร้ายมหึมา เรื่องผีดิบดูดเลือด แวมไพร์ หรือเรื่องของหญิงสาวบริสุทธิ์น่าสงสารตกอยู่ในการขู่เข็ญของคนหรือสิ่งใด สิ่งหนึ่ง
•  นวนิยายวิทยาศาสตร์ ( Sciences fiction ) เป็นนวนิยายที่เอาเรื่องทางวิทยาศาสตร์มาเป็นแกนสำคัญในการสร้างเรื่อง
•  นวนิยายมหัศจรรย์ ( Fantasy fiction) นวนิยาย ที่เน้นในเรื่องเวทมนตร์ ความเชื่อและศรัทธาอันก่อให้เกิดอภินิหาร เรื่องราวเหนือธรรมชาติ แต่หลัง ๆ มานี่มักจะมีการรวมกันเอาทั้งวิทยาศาสตร์และเวทมนตร์เข้าด้วยกัน กลายเป็นประเภท sciences fantasy ขึ้นมา
•  นวนิยายแนวกามารมณ์ ( Erotica fiction) นวนิยายที่เน้นในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก และเขียนถึงฉากกามารมณ์มากเป็นพิเศษในเรื่อง
•  นวนิยายที่สะท้อนปัญหาสังคม เป็น นวนิยายที่คนแต่งมุ่งแสดงหรือเปิดเผยให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองลงในเรื่อง โดยผ่านตัวละคร ส่วนทางแก้นั้นก็แล้วแต่ผู้เขียนเหมือนกันว่าจะเสนอเอาไว้ไหม หรือเพียงแต่บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นเท่านั้น ที่เหลือ ให้คนอ่านคิดเอาเอง
( หากคุณอ่านนวนิยายเรื่องไหนแล้ว ไม่ตรงกับประเภทที่แบ่งเอาไว้ อย่ากังวล เติมมันลงไปได้เลย )

    ๒. องค์ประกอบของนวนิยาย

Plot : พล็อตเรื่อง โครงเรื่อง
พล็อต หมายถึงชุดของเหตุการณ์ที่ทำให้เรื่องมีความหมายและก่อให้เกิดผลบางอย่างใน นวนิยายโดยส่วนมากเหตุการณ์มักจะเกิดขึ้นจาก ความขัดแย้ง หรือปัญหาที่ตัวละครสำคัญได้พบ หรือได้รับรู้ ความขัดแย้งนี้อาจจะมากจากสิ่งภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่นการตาย การได้รับอุบัติเหตุ การถูกโจมตี การมีแม่เลี้ยง ฯลฯ หรือประเด็นความขัดแย้งคือสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจตัวละคร เช่นความอิจฉาริษยา การสูญเสียชื่อเสียง ความทะเยอทะยาน ความโลภ ฯลฯ เมื่อตัวละครได้สร้างทางเลือกและพยายามที่จะแก้ปัญหา สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องได้ถูกขัดเกลา และพล็อตได้เกิดขึ้น ในนวนิยายบางเรื่อง นักเขียนได้ได้วางโครงสร้างทั้งหมดของพล็อตไปตามลำดับคือเหตุการณ์ที่หนึ่ง ได้เกิดขึ้น ตามมาด้วยเหตุการณ์ที่สอง สาม และต่อ ๆ ไปตามลำดับ ( เกิดเหตุการณ์ a แล้วเกิด b เกิด c เกิด d ตามลำดับ สลับกันไม่ได้ ) แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีนวนิยายหลายเรื่องเหมือนกันที่ถูกเล่าแบบใช้เทคนิคการเล่าเรื่องย้อน หลัง (flashback) ซึ่งเป็นพล็อตเหตุการณ์ที่เกิดในตอนต้น ถูกนำเข้าไปแทรกในเหตุการณ์ปัจจุบันของเรื่อง ในบางมุมของพล็อต ได้ถูกอธิบายไปหลากหลายในแนวการทำงานของเรื่องแต่ง เช่น เรื่องจะเกิดขึ้นเมื่อ
ได้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น ( rising action ) เช่น ตัวละครได้พบหรือรับรู้ปัญหาจากชุดของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นักเขียนได้พล็อตขึ้น อย่างซับซ้อน ( complicate) ที่เพิ่มให้ตัวละครตกอยู่ในปัญหาที่ยุ่งยากลึกลงไปอีก ความขัดแย้งจะนำไปสู่ จุดไคลแมกซ์ ( climax) อันเป็นจุดตัดสินที่จะบอกให้รู้ว่าเรื่องทั้งหมดจะถูกคลี่คลายไปด้วยวิธีใด และเมื่อความขัดแย้งถูกทำให้หมดไป สิ่งที่เกิดขึ้นหลังไคลแมกซ์ ( falling action ) ทั้งหมดก็จะนำไปสู่ตอนจบของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร หรือสถานการณ์ เช่นการฆ่าตัวตาย การได้รับสถานภาพใหม่
โครงสร้างเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอออกในรูปแบบ โครงสร้างสามส่วน ( แม้ว่าเรื่องบางเรื่องไม่เหมาะกับแบบนี้ )
      
ลองสร้างพล็อตง่าย ๆ
พล็อตโดยมากจะถูกพัฒนา เนื่องมาจากตัวละครอยู่ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง และความขัดแย้งจะทำให้คนอยู่ในเหตุการณ์ยากลำบากเหมือนหนีเสือปะจระเข้ อยู่ในภาวะกดดัน หรือถูกขู่เข็ญจากศัตรู ต้องมีภาระรับผิดชอบ หรือสูญเสียสิ่งสำคัญไป ในหลาย ๆ เรื่อง ทางเลือกของตัวละครในการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไปตามสิ่งแวดล้อมและภายนอกที่ ไม่เหมือนกัน และความรู้สึกนึกคิดของตัวละครเองก็จะเปลี่ยนแปลงภายในตัวเองไปตลอดทั้ง เรื่องหลังจากที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งพวกเขาอาจทั้งได้รับ หรือสูญเสีย พวกเขาอาจจะเติบโตทางความคิด หรือเอาชนะจุดอ่อนในตัวเองได้ ให้พล็อตเรื่อง โดยสร้างตัวละครขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วเอาเขาเข้าไปอยู่ในสถานการณ์สักอย่าง เช่น
•  แม่บ้านคนหนึ่งอยากออกไปทำงานนอกบ้าน
•  เด็กนักเรียน ม.ปลาย ตั้งท้อง ในขณะที่พ่อแม่เชื่อว่าเขากำลังขะมักเขม้นกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
•  ผู้ชายคนหนึ่งต้องตกงานในขณะที่แฟนสาวของเขาถูกเลื่อนขั้น
ให้ คิดขึ้นโคร่งร่างพล็อตขึ้นมา สร้างสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คุณคิดจะให้ตัวละครเลือกทำ อะไรจะก่อนขึ้นก่อน อะไรจะตามมา ถ้าเป็นไปได้ ชี้ให้เห็นถึงไคลแมกซ์หรือทางแก้ปัญหาที่จะเกิดในพล็อต บรรยายให้เห็นถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์และทางเลือกที่ตัวละครเลือก
( เทคนิคในการสร้างพล็อตเรื่อง คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จาก หนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง ในหนังสือจะกล่าวถึงวิธีสร้างพล็อตอย่างง่าย และรวบรวมพล็อตต่าง ๆ ให้คุณเห็นถึง ๕๐ พล็อต )

Character : ตัวละคร
คือตัวละครในเรื่องแต่ง รวมความไปถึงมนุษยชาติหรือสัตว์ หรืออื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในเรื่อง
นัก เขียนเรื่องแต่งโดยมาก ยอมรับกันว่า ตัวละครคือกุญแจในการพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ในเรื่อง และเป็นส่วนสำคัญในการที่จะเข้าใจเรื่องมากขึ้น ถ้าหากตัวละครถูกชี้ให้เห็นความแตกต่างในแต่ละตัว และทำให้คนอ่านมีความเชื่อถือและสนใจในตัวละคร
ตัวละครเอก ( protagonist) จะเป็นศูนย์กลางของพล็อตเรื่อง ในการที่นักเขียนจะใช้เป็นตัวร้อยเรื่องราวต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นแก่นของเรื่อง
ตัวละครร้าย (antagonist) จะเป็นตัวละครหรือเป็นสิ่งที่ขู่เข็ญในความขัดแย้งกับตัวละครเอก ตัวละครในเรื่องอาจจะเป็นทั้ง
ตัวประกอบอื่นๆ ที่เอาเข้ามาไว้ในเรื่องเพื่อให้เรื่องดูเหมือนจริง
การสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละคร ( characterization )
นัก เขียนได้ใช้เทคนิคแตกต่างกัน บางคนใช้การบอกเล่าในการบรรยายให้เห็นตรง ๆ บางคนแสดงให้เห็นจากการกระทำของตัวละครที่โต้ตอบสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพวกเขาในสถานการณ์ต่าง ๆ บางคนก็แสดงให้เห็นจากวิธีพูดคุยกับตัวละครตัวอื่น หรือมาจากการคิดในใจของตัวละครเอง หรือการกล่าวถึงจากตัวละครตัวอื่น
ตัวละครแบบมีมิติ ( round character) สร้าง ขึ้นมาแบบให้มีหลากหลายคุณสมบัติและอารมณ์ จุดเด่นจุดด้อย มีความซับซ้อนและต้องเปลี่ยนแปลงไปจากการผ่านเหตุการณ์ต่าง ในเรื่อง )
ตัวละครแบบแบน ๆ (flat character) มักเป็นตัวละครประกอบที่ไม่สำคัญ บุคลิกไม่ซับซ้อน อาจมีเพียงมิติเดียว

รู้จักกับตัวละครแบบง่าย ๆ

เมื่อ ตัวละครถูกสร้างในนวนิยาย ความหลากหลายในรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวละครจะถูกนักเขียนจัดเตรียมไว้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือหรือให้ เหมือนกับเป็นคนที่มีอยู่จริง รายละเอียดของตัวละครแบบแบนอาจมีเพียงเรื่องหยาบ ๆ อย่างเรื่องเพศ อายุ อาชีพ หรือเป็นอะไรในครอบครัว ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ในทางตรงข้าม ตัวละครแบบมีมิติจะถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องเสื้อผ้า ทักษะ ความฝัน ความหวัง ความกลัว ความชอบ หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงให้คนอ่านรู้ได้ จากการเล่าเรื่อง การพูดคุย การส่งผ่านความคิดของตัวละคร และพฤติกรรมของเขา
การสร้างตัวละคร
ให้เลือกตัวละครขึ้นมาสักตัวกำหนดให้ว่าเขาเป็นคนแบบไหน เช่น ขี้เหนียว ตะกละ โหดร้าย ใจดี ฯลฯ
ใส่รายละเอียดเช่น อายุ เพศ อาชีพ นิสัยส่วนตัวตั้งแต่เกิด
จาก บุคลิกลักษณะที่เขาเป็น บรรยายถึงความเป็นไปได้ของปํญหาหรือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากตัวเขาเอง( เช่นมุ่งงาน จนทำให้ขาดเวลาเอาใจใส่ครอบครัว ) และอธิบายถึงวิธีที่เขาจะแก้ปัญหานี้
สร้างกลุ่มปัญหาและสถานการณ์ขึ้นมาสักห้าหกอย่าง แล้วมองดูว่าตัวละครจะทำอย่างไร
ให้ พิจารณาถึง นิสัยของแต่ละคน ความกลัว ความต้องการ ความหลัง ความผัน ความมีเหตุผล ความสัมพันธ์ จุดอ่อน จุดแข็ง อดีตของตัวละครฯลฯ มาร่วมในการสร้างปัญหาและวิธีแก้ปัญหาของเขา ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนี้ และทำไมจึงไม่เป็นอย่างอื่น
ลอง ใส่ตัวละครตัวอื่น ที่มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันไป ลงในปัญหาและสถานการณ์เดิมที่คุณสร้างคุณ คิดถึงวิธีแก้ปัญหาของเขา แตกต่างกันอย่างไรบนพื้นฐานบุคลิกของตัวละครแต่ละตัว
( เรียนรู้การสร้างตัวละคร ตัวละครสร้างเรื่องได้อย่างไร และรู้จักกับตัวละครที่เป็นแม่แบบเห็นได้บ่อย ๆ ทั้งพระเอก นางเอก ตัวร้าย ตัวอิจฉาในหนังสือ ๑๐๐คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )

Setting : ฉากเวลาและสถานที่
   เป็น เรื่องที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เพราะมันหมายถึง สถานที่ที่เป็นทั้งภูมิทัศน์ภายนอก และการตกแต่งภายใน และเวลา ที่เรื่องได้เกิดขึ้น รวมความไปถึงสภาพภูมิอากาศ ช่วงประวัติศาสตร์ การดำเนินชีวิต หรือเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมในช่วงที่ เรื่องได้เกิดขึ้นด้วย เนื่องจากในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่จะมีบุคลิกและเสน่ห์ในตัวของมันเอง ( เช่นทะเลทราย ใต้น้ำ ป่าเขา )
  Setting ในนวนิยายจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง หรือสิ่งที่จินตนาการขึ้นเองก็ได้ หรือจะเป็นทั้งสองอย่างรวมกัน ( หากเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ข้อมูลที่ใส่ลงไปต้องถูกต้องตามความเป็นจริง )
  Setting มีความสำคัญและมีความสัมพันธ์ต่อตัวละคร พล็อตเรื่อง และบรรยากาศในเรื่อง
  การ เปิดเผยฉากสถานที่และเวลาโดยมากจะเป็นการบรรยายให้เห็นโดยตรงจากคนเขียน แต่ก็มีเหมือนกันที่จะแสดงให้เห็นโดยผ่านการกระทำ การพูด หรือการคิดของตัวละคร
ฝึกสร้าง setting ให้สัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆในเรื่อง
ตัวละคร ใน เรื่องต้องเกี่ยวพันกับฉากสถานที่และเวลาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะฉากสถานที่จะช่วยเปิดให้เห็นถึงบุคลิกของตัวละคร คนที่มาจากต่างสถานที่กันจะมีความแตกต่างกัน มันสามารถขัดเกลาตัวละครได้ คิดถึงตัวละครที่อยู่ในเมืองใหญ่แออัด กับตัวละครที่อยู่ชนบท คนที่อยู่ในคฤหาสน์กับคนที่อยู่ในสลัม คนที่อยู่ในสังคมที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม กับสังคมที่มุ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
บรรยากาศในเรื่อง ฉาก สถานที่และเวลาจะช่วยสร้างได้มาก จนนวนิยายหลายเรื่องทำให้สถานที่กลายเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องที่สร้าง ความตื่นเต้น ความกลัว ความลึกลับน่าสะพรึงกลัว
พล็อตเรื่อง เคย มีคำกล่าวว่า ถ้าหากคิดพล็อตไม่ออก ก็ให้เผาบ้าน ระเบิดเขื่อน มีพายุ หรือ หิมะตกหนัก ฯลฯ เสีย แล้วจะมีเหตุการณ์ให้คุณเขียนขึ้นได้เอง ( แต่ต้องมีวัตถุประสงค์ในการสร้างมันขึ้นมาด้วยนะ เช่น อยากให้พระเอกนางเอกรู้จักกันเป็นครั้งแรกคุณอาจเริ่มที่ แปลงกุหลาบของนางเอกถูกสุนัขพระเอกขุดทำลาย)
ให้เลือกมาสักสถานที่หนึ่ง แล้ว อธิบายรายละเอียดสั้น ๆว่าเป็นอย่างไร ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมที่จะทำให้มันขยายวงกว้างออกไปได้บ้างไหม และบรรยากาศอย่างไรที่จะคุณเลือกให้กับสถานที่ของคุณ (สนุกสนาน น่ากลัว ทุกข์ยาก ลึกลับ น่าสบายใจ ) รายละเอียดแบบไหนบ้างที่จะสร้างความรู้สึกเช่นนั้น
( ความสำคัญของ setting และวิธีเลือกให้เหมาะสมกับเรื่อง พร้อมกับวิธีสร้าง ดูได้จากหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )

Point of View : เสียงเล่าเรื่อง มุมมอง
ความหมายง่าย ๆ คือ เสียงเล่าเรื่อง อาจจะอยู่ในรูป
บุคคลที่หนึ่ง เล่าเรื่องโดยใช้ คำว่า ฉัน ข้าพเจ้า พวกเรา ซึ่ง เป็นตัวละครที่เล่าเรื่อที่ตัวเองอยู่ร่วมด้วยให้ฟัง อาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่เกี่ยวพันถึงตัวเองโดยตรงซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวเอก ในเรื่อง เช่น ฉัน เดินข้ามถนน หรือเป็นการเล่าเรื่องของตัวละครตัวรองที่อยู่ในเรื่องได้เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เขาเห็นให้ฟังก็ได้ เช่น “ ฉันเห็น ธอเดินข้ามถนน
บุคคลที่สาม เป็นเสียงเล่าที่เกิดเมื่อคนเล่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในเรื่อง จากตัวอย่าง ฉันเดินข้ามถนน จะกลายเป็น เธอเดินข้ามถนน หรือ วนิดาเดินข้ามถนน มี ๓ แบบคือ
  • แบบรู้ไปหมดทุกอย่า ง เสียงเล่าเรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งและทุกที่ รู้ไปถึงความนึกคิด จิตใจของตัวละคร ได้ทีละหลาย ๆ คน
  • แบบเลือกผ่านตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในเรื่อง การ เล่าเรื่องจะเล่าในมุมมองของตัวละครที่ถูกเลือก ตัวละครรู้ เห็น คิด อะไร ก็เล่าได้เพียงแค่นั้น การเล่าวิธีนี้จะมีข้อที่มั่วได้ง่ายหากไม่ระวัง คือ อย่าให้ตัวละครของคุณ เล่าถึงความคิดในหัวตัวละครอื่นเด็ดขาด
  • แบบเล่าเฉพาะสิ่งที่เห็นหรือตัวละครแสดงออกภายนอกอย่างชัดเจน เช่น การบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บรรยายถึงสถานที่สิ่งแวดล้อม บอกกิริยาที่ตัวละครแสดงออก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวละครคิดอะไร หรือมีอารมณ์ความรู้สึกใด ๆ อยู่
บุคคลที่สอง ไม่ เป็นที่นิยมใช้เท่าไหร่ในการแต่งนวนิยาย จะเหมือนเป็นการเล่าเรื่องของเราเองให้เราฟัง เช่น คุณเดินไปที่ถนน คุณหยิบเสื้อขึ้นมาใส่ คุณเดินตรงไปห้องเปิดประตู แล้วก็นอนบนเตียง ฯลฯ การเขียนอย่างนี้เหมาะกับการปลุกเร้า ชี้ชวน หรือแนะนำ
การฝึกฝนเรื่อง point of view
ทำได้โดยการอ่านนวนิยาย แล้วเลือกเอามาสักตอน เขียนใหม่ในมุมมองของตัวละครตัวอื่น หรือเลือกใช้ประเภทแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
( ดูตัวอย่างและทำความเข้าใจในเรื่อง point of view ได้มากขึ้นในหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )


Theme : แก่นเรื่อง ใจความสำคัญของเรื่อง

เป็นความคิดรวบยอดที่เหลือไว้หลังจากที่อ่านจนจบเรื่อง เป็นเสมือนคำตอบของคำถาม คุณได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ เป็น เรื่องที่น่าสนใจว่า ในเรื่องเดียวกัน คนอ่านอาจจะรับรู้ได้ไม่เหมือนกัน เพราะการตีค่านอกจากจะมาจากการนำเสนอเรื่องของนักเขียนแล้ว ยังขึ้นกับระดับความรู้ การรับรู้และอารมณ์ความรู้สึกของคนอ่านด้วย ซึ่งมันอาจไม่ตรงกับที่นักเขียนต้องการจะนำเสนอก็ได้ และเป็นเรื่องที่คนอ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้
ความ สำคัญของแก่นเรื่องหรือ ธีม จึงดูเหมือนจะมีความสำคัญสำหรับนักเขียนมากกว่าคนอ่านเสียอีก เพราะหากนักเขียนไม่มีหลักที่เป็นแกนกลางของความคิดของเรื่องที่จะให้เกิด ขึ้นแล้ว เรื่องที่จะเล่าก็คงจะสะเปะสะปะ ขาดทิศทาง หรือความเป็นหนึ่งเดียวของเรื่องจนทำให้เรื่องขาดพลังไปได้
อีกคำหนึ่งที่ควรจะรู้จักเอาไว้ก็คือ คำว่า พริไมส์ ( premise ) ซึ่ง มีส่วนสำคัญในการเขียนเรื่องพอ ๆ กับธีม เพราะมันคือประโยคที่เป็นสมมติฐานอันแสดงออกถึงความคิดของนักเขียนที่มีต่อ ธีมของเรื่อง และบทบาทของตัวละคร รวมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง จะต้องแสดงหรือเปิดเผยให้เห็นความเป็นจริงอย่างที่นักเขียนตั้งเอาไว้ เช่นนักเขียนตั้งสมมติฐานในเรื่องของความรักเอาไว้ว่า ความรักท้าทายได้แม้ความตาย ไม่ ว่าจะเป็นตัวละคร หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในเรื่อง ต้องสนับสนุนและพิสูจน์ว่า ประโยคนี้เป็นจริงในเรื่องที่นักเขียนแต่งขึ้นเท่านั้น ( เราจะไม่รับรองในโลกของความเป็นจริง เพราะสามารถตีค่าได้มากมายจากความคิดเห็นของคนอ่านแต่ละคน )
( อ่านวิธีสร้างเรื่องจากธีมและพริไมส์ รวมทั้งการสร้างพริไมส์ ด้วยตัวเองจากหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )

๓. จะเริ่มอย่างไร
สำรวจตัวเองให้พร้อม
   อยาก เป็นนักเขียนที่เขียนได้เสร็จเป็นเล่ม มันอยู่ที่ตัวคุณเองถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่การจะประสพความสำเร็จหรือไม่จะเป็นปัจจัยภายนอก เราบอกไม่ได้ว่า จะมี บก. หรือคนอ่านชอบเรื่องของเราแค่ไหน แต่ที่แน่ ๆ ถ้าเราเขียนมันไม่เสร็จ มันก็ออกไปให้ใครตัดสินไม่ได้ จงเตรียมตัวให้พร้อมเสียก่อน
หากอยากเป็นนักเขียน ลองถามตัวเองก่อนเลยว่า
   ทำไมจึงอยากเขียน ? คุณ มีเหตุผลอะไร คุณเขียนคำตอบลงไปได้ไหม? และไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร ถือว่าถูกต้องทั้งหมด แต่ถามตัวเองต่อด้วยว่า เหตุผลที่คุณมีนั้น มันเป็นแรงบันดาลใจ มีแรงดึงดูดใจมากเพียงพอให้คุณอยากเป็นนักเขียนจริง ๆ หรือเปล่า ? ถ้าคุณตอบว่า ใช่ ถือว่าคุณผ่าน
   คุณมีเวลาที่แน่นอนสำหรับการเขียนไหม? หาก ไม่มีคุณจะจัดตั้งมันขึ้นมาได้ไหม?และเมื่อคุณจัดตารางเวลาสำหรับการเขียน ได้แล้ว คุณจะทำมันทุกวันอย่างสม่ำเสมอได้ไหม? ไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะมีเวลาแต่ละวันเท่าไหร่ สำคัญที่ว่า คุณต้องทำให้ได้อย่างที่คุณตั้งไว้ ( ข้อแนะนำอย่างน้อยวันละ ๑-๒ ชั่วโมง ถ้าไม่ได้เลย วันละ ๓๐ นาทีก็ได้ )
   คุณหาสถานที่เป็น X ส่วนในการเขียนได้ไหม? ไม่ จำเป็นจะต้องเป็นที่ใหญ่โต แค่มุมใดมุมหนึ่งในห้อง หรือโต๊ะเล็ก ๆ ในครัวก็ยังได้ ขอเพียงแต่ทำให้คุณมีสมาธิที่จะเขียนได้อย่างจริง ๆ ไม่ถูกขัดจังหวะจากบุคคลอื่น ๆ เท่านั้น
   อุปกรณ์ที่คุณควรจะมีเตรียมให้พร้อม ก็พวกกระดาษ ดินสอ ปากกา เครื่องพิมพ์ดีด และถ้าจะให้ดี ก็ควรจะเป็นคอมพิวเตอร์สักตัว
ตัดสินใจจะเขียนอะไร
   คุณ มีไอเดียอยู่ในหัวบ้างแล้วยังว่า คุณจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือแนวไหน( ดูจากประเภทของนวนิยาย) และมันมีหลากหลายทางเลือกที่จะเขียน แต่หากยังไม่มีให้ลองพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้
   เขียนเรื่องที่คุณรู้ เป็น คำแนะนำที่ได้รับบ่อย ๆ สำหรับนักเขียนใหม่ เพราะการเขียนเรื่องที่คุณรู้ มันจะทำให้คุณเริ่มต้นได้ง่าย มีข้อมูลเพียงพอที่จะเขียนทันที
   เขียนเรื่องที่คุณไม่รู้ นี่ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คุณไม่จำเป็นจะเริ่มเขียนจากสิ่งที่คุณรู้ก็ได้ ถ้าหากสิ่งที่คุณไม่รู้ มันเป็นสิ่งที่คุณสนใจอยากค้นหาอยากรู้เรื่อง อยากเขียนให้คนอื่น ๆ ได้รู้เหมือนคุณ และเดี๋ยวนี้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นในห้องสมุด ร้านขายหนังสือที่เปิดโอกาสให้คนเลือกอ่านจนหนำใจแล้วค่อยซื้อ และที่สำคัญใน internet ( ต้องเก่งภาษาอังกฤษหน่อย )
   เขียนในสิ่งที่คุณรัก มันจะเป็นสิ่งที่ออกมาจากใจ มันจะทำให้คุณมีความสุขในการเขียนถึง
   เขียนในสิ่งที่คุณไม่ชอบ บอกมาเลยทำไมคุณไม่ชอบเพราะอะไร คุณมีไอเดียที่จะเสนอทางออกไหม? หรือจะปล่อยให้คนอ่านตัดสินใจเอาเอง
   เขียนเรื่องที่คุณอยากอ่าน นี่ เป็นเหตุผลที่ดีมาก สำหรับนักเขียนใหม่ จะเป็นอะไรก็ได้ ขอให้เป็นสิ่งที่คุณอยากอ่าน เวลาคุณเขียนคุณก็จะมีความสุขไปกับมันด้วย หากไม่รู้ว่าเรื่องที่คุณอยากอ่านนั้นมันจะดีไหม? ก็ให้ถามตัวเองว่า อีกสองปีข้างหน้า คุณยังจะอยากอ่านเรื่องแบบนี้ไหม ถ้าใช่ ลงมือเขียนเลย
   เขียนเรื่องตามตลาด ไป สำรวจตามร้านหนังสือ ว่ามีเรื่องประเภทใดออกมาบ้าง แต่ให้ระวัง ขณะที่คุณสำรวจตลาด กับเวลาที่คุณจะเขียนออกมาเวลามันต่างกันมากน้อยแค่ไหน ความนิยมอาจเปลี่ยนไปแล้วก็ได้
๔.จะหาไอเดียมาจากไหน
ปัญหา หนึ่งที่คนอยากเป็นนักเขียน มักจะถามนักเขียนอยู่เสมอว่า หาไอเดียมาจากไหน นักเขียนบางคนก็งง ๆ นะไม่รู้จะบอกว่าไง เพราะบางอย่างมันก็แว่บขึ้นมาเอง บางอย่างมันก็เกิดจากการสะสม หรือตกผลึกทางความคิดจากการอ่านมาก เห็นมาก สังเกตมาก แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ไอเดียมาจากทั่วทุกหนทุกแห่งรอบตัวคุณ อย่า ไปกะเกณฑ์เอาคำตอบที่ตายตัว การเห็น การคิด การสังเกต การตีความ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละคน ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะหาที่ไหน ก็ลองนี่เลย
๑. หนังสือพิมพ์ มี ประโยชน์จริงๆ เลยหนังสือพิมพ์นี่ ไม่ว่าคุณจะต้องการโครงเรื่อง ก็หาเอาจากที่นี่ได้ต้องการค้นหาตัวละครก็เอาจากที่นี่ได้ ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย อ่านแล้วพิจารณาให้ดีเถอะไม่ว่าจะเป็นข่าว หรือโฆษณา รวมทั้งรูปภาพด้วย แถมยังได้ข้อมูลที่ทันสมัยอีกต่างหาก ( ลองเขียนแต่ง เติมที่มาของเรื่อง และบทจบซิว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อเรื่องที่คุณอ่านคือ หมอฆ่าภรรยาของตนเองตาย พยายามคิดให้แตกต่างไปจากนวลฉวี หรือ ศยามล ด้วย )
๒. การ์ดอวยพร เวลา ไปเดินที่ห้างก็ลองแวะไปที่แผนกนี้บ้างนะ นอกจากจะเจอการ์ดที่มีรูปภาพต่าง ๆ แล้ว คุณยังจะได้เจอกับถ้อยคำที่น่าสนใจอีกด้วย ในบางขณะที่คุณรู้สึกมึนตึ้บไปกับนิยายรักของคุณไม่รู้จะไปทางไหนต่อ ก็ลองไปเปิดดูถ้อยคำรักซึ้ง ๆ จากการ์ดพวกนี้ได้ แบบตลก ๆ ก็มีนะ
๓. สมุดรายชื่อโทรศัพท์ อย่ามองข้ามมันไปเสียละ เล่มออกโต อย่างน้อยคุณก็หาชื่อให้ตัวละครของคุณได้ในหนังสือพวกนี้ละ
๔.หนังสือคัมภีร์ ของศาสนาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พระไตรปิฎก ไบเบิล หรืออัลกุรอ่าน เหล่านี้คือบ่อเกิดของเรื่องราวอันยิ่งใหญ่
๕.หนังสือนิตยสารต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องของความสวยความงาม แฟชั่น สุขภาพ ดารา ธุรกิจ แม้กระทั่งประเภท แปลกแต่จริงก็มีเรื่องที่น่าสนใจให้คุณนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น
๖.วรรณคดี นิทาน เป็นเรื่องที่ไม่มีวันตาย ( โดยเฉพาะเรื่องซิลเดอเรลลา ) นักเขียนหลายคน ได้ใช้โครงเรื่องของความเก่าก่อนมาใช้ไม่น้อย แถมบางเรื่อง ยังช่วยในการพัฒนาวิธีการเขียนของคุณได้ด้วยนะ ไปอ่านดูเสียบ้าง
๗. รูปภาพ หรือสมุดภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพคน หรือสถานที่ วิวทิวทัศน์ ใช้เป็นประโยชน์ในการสร้างตัวละคร หรือฉากสถานที่ ได้ทั้งนั้น
๘. เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่บ้าน บนถนน ที่ทำงาน
๙. โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์
๑๐. Internet เป็นแหล่งข้อมูลที่คุณหาเกือบทุกอย่างที่คุณคิดถึงได้จากมัน
๑๑. ฯลฯ
๕.ะเริ่มเรื่องจากตรงไหน
ให้ เริ่มที่จุดเล็ก ๆ ในหัวใจคุณ จงรู้ไว้เถอะว่า นวนิยายที่คุณได้อ่านออกมาเป็นเล่ม ๆ มันไม่ได้เกิดจากสิ่งใหญ่โตสำเร็จรูป หรือมาเป็นก้อน ๆ หรอก มันเริ่มจุดเล็ก ๆ ก่อนทั้งนั้นจุดที่เรียกร้องความสนใจจากคุณ จุดที่ดึงดูดใจคุณให้อยากเขียน หรือบอกเล่ามันออกมา มันอาจจะมาจาก
•  ประโยคเดียวสั้น ๆ ที่กินใจคุณเหลือเกิน เช่น ผมจะอยู่ได้ยังไงหากปราศจากคุณ ลองคิดดูก่อนจะมาเป็นประโยคนี้ และหลังจากพูดประโยคนี้ มันมีเหตุการณ์อะไรที่จะเกิดขึ้นได้บ้าง
•  สถานที่ที่ตรึงใจคุณ ที่คุณเคยไป หรือเคยเห็นภาพ เช่น ทะเลทรายอันเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์และมนตร์ขลังของ ชีครูปงาม
•  เรื่องราวของใครสักคนที่คุณรู้จัก หรือได้ยินเกี่ยวกับเขา จนคุณอยากให้เขียนถึงในแง่มุมที่คุณพึงพอใจ
•  ภาพเหตุการณ์สักอย่างที่เห็นแล้วเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา
•  ข่าวหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ยินอยู่ทุกวัน
•  ความ คิดเห็นส่วนตัวในเรื่องบางอย่างที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นทัศนคติในเรื่องที่ขัดแย้งกันใจสังคม หรือแง่มุมความคิดเกี่ยวกับบางอย่างที่ มันมีมากพอที่จะทำให้คุณอยากจะแสดงให้คนเห็นว่า มันควรจะเป็นเช่นนี้ แล้วก็เขียนออกมาให้เห็นโดยผ่านตัวละครในเรื่องที่คุณวางแผนให้เป็นไปอย่าง ที่คุณต้องการ
•  ฯลฯ
๖. การสร้างเรื่องใน ๓ วิธี
สำหรับวิธีจะสร้างให้เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา มักจะอยู่ใน ๓ วิธีนี้
๑.สร้างจากหาตัวละครมา แล้วก็เลือกองค์ประกอบหรือสถานการณ์ต่างใส่เข้าไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร
แนวคิด
๑. เลือกให้ได้ว่าจะให้ใครเป็นตัวเอกในเรื่อง จะให้พระเอก หรือนางเอก คิดถึงหนังสือในแนวที่คุณเคยอ่านเพื่อประกอบการพิจารณา คนแบบไหนที่มักจะเป็น “ ดารา ” ในหนังสือที่คุณชอบ เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย อายุเท่าไหร่ ? เป็นวัยรุ่นหรือคนแก่
๒. บีบคั้นตัวเอกในเรื่องด้วยปัญหา หรือ วิกฤตการณ์ เป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่ทำให้การดำเนินชีวิตของตัวเอกต้องล้มคว่ำคะมำหงายไป เลย ไอเดียเกี่ยวกับปัญหานี้ก็หาเอาจากรอบ ๆ ตัวคุณ เช่นเพื่อน ครอบครัว ข่าว จินตนาการ เริ่มต้นคิดด้วยคำว่า “ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า … . ” , หรือ “ สมมุติว่า …”
๓. สร้างเรื่องเพื่อเป็นเป้าหมายให้ตัวเอก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งเรื่องเพื่อทำให้เขาต้องค้นหา และทำเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ถ้าทำสำเร็จ สิ่งเลวร้ายอันเป็นผลมาจากปัญหานั้น ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น และชีวิตก็จะกลับมามีความสุข หรือเป็นปกติอีกครั้ง การเตรียมเรื่องเป้าหมายตัวเอกจะต้องอยากได้ หรืออยากเป็นเจ้าของในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น คน สิ่งของ หรือข้อมูลสำคัญ หรือเป้าหมายของเขาอาจจะเพื่อปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่งเช่น ความกลัว ความเจ็บปวด ความเศร้า ความโหดร้าย การขู่เข็ญ ฯลฯ เตรียมเป้าหมายให้กับตัวเอกด้วยคำว่า เขาหรือเธอตัดสินใจที่จะต้อง .......
๔. รวมเอาสิ่งที่เรา สมมุติว่า หรือ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า เข้าไปรวมกับเรื่องที่นำไปสู่เป้าหมายของตัวเอก เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเธอท้องในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ และเธอตัดสินใจที่จะเก็บเด็กในท้องเอาไว้ แทนที่จะทำแท้ง
๕. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเป้าหมายเพื่อที่จะแสดงให้เห็นพัฒนาการของตัวละคร ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในท้ายที่สุด
๒.สร้างจากสถานการณ์ใด ๆ ที่เลวร้ายส่งผลให้ตัวละครต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะผ่านพ้นมันไปให้ได้ ขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้ในสิ่งนี้ไปด้วย
แนวคิด
๑. สร้างสถานการณ์อย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งมันเลวร้าย หรืออยู่ในภาวะยุ่งเหยิงมาก ๆ มีผลร้ายต่อคนใดคนหนึ่ง หรือเมืองใดเมืองหนึ่ง หรือโลกใดโลกหนึ่ง ฯลฯ
๒. คัดเลือกตัวละครที่เหมาะสม ที่จะต้องได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์นั้น อาจจะเป็นคน ๆ เดียว หรือกลุ่มคนก็ได้ที่พยายามต่อสู้กับสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นอย่างไม่ หยุดยั้ง มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับพวกเขาตลอดทั้งเรื่อง
๓. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องเป็นสิ่งสมเหตุสมผล แต่ก็โยนตัวละคร เข้าไปสู่ความหายนะขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าพวกเขาจะค้นหาวิธีการเอาชนะมันได้ในที่สุด
๔. วิธีการเอาชนะอาจจะมาจากค้นพบ หรือตีความหมายจากปริศนาเพื่อทำลายสิ่งเลวร้าย หรือ ตัวละครสามารถหนีพ้นจากหายนะนั้นได้ เพราะเทคโนโลยี หรือเป็นเพราะพลังใจอันเข้มแข็งแน่วแน่
๕. คนอ่านจะมุ่งความสนใจไปที่ จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นต่อไป และตัวละครจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ทั้งคนอ่านและตัวละครจะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน
๓.สร้างจากพล็อต แล้วหาตัวละครที่เหมาะสมใส่ลงไป
แนวคิด
๑. สร้างพล็อตขึ้นมา อะไรก็ได้ตามใจ ลำดับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น อย่างเป็นเหตุเป็นผลเชื่อมโยงกันไป
๒. หาตัวละครที่เหมาะสม ใส่ลงไป แสดงบทบาทตามที่พล็อตต้องการ
๓.การ สร้างเรื่องด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับเรื่องที่ต้องการให้คนอ่านคล้อยตามในสิ่ง ที่นักเขียนต้องการแสดง ความคิดออกมา หรือต้องการจะสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่คนอ่าน
( วิธีสร้างเรื่องหรือสร้างพล็อต มีในหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )
๗.ความขัดแย้ง เป้าหมาย และแรงจูงใจ
เพื่อ ความสนุก เข้มข้น จริงจัง และมีเหตุผล ในเรื่องทุกเรื่อง พล็อตทุกพล็อต ตัวละครทุกตัว ที่สร้างขึ้นไม่อาจจะปราศจากสามอย่างนี้ไม่ได้
ความขัดแย้ง ( conflict ) คือ ปัญหาหรืออุปสรรค ขัดขวางไม่ให้ ตัวละครเอกของเราเข้าไปถึงเป้าหมายได้ง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ตัวละครต้องพบ และต้องขจัดให้หมดไปโดยอาศัยพลังทุ่มเททั้งกายและใจ ไม่ใช่สิ่งที่พูดคุยกันแล้วก็หายไป ความสนุกมันจะอยู่ในตอนนี้ละ ว่าเขาจะทำอย่างไร เพียงแค่ความขัดแย้งก็สามารถนำเป็นพล็อตได้ ที่เห็นบ่อย ๆ ก็อยู่ในเรื่อง
  • ความขัดแย้งระหว่างคนกับคน
  • ความขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติ
  • ความขัดแย้งระหว่างคนกับสิ่งที่เขาประดิษฐ์สร้างขึ้น
  • ความขัดแย้งระหว่างคนกับตัวเขาเอง
  • ความขัดแย้งระหว่างคนกับความเชื่อ สังคม พระเจ้า
เป้าหมาย ( goal ) เป็น เสมือนอนาคตที่ตัวละครต้องไปให้ถึง เป็นตัวกำหนดทิศทางให้ตัวละครเดินไป ตัวละครทุกตัวที่ปรากฏในเรื่องจะต้องมีเป้าหมายของตัวเอง ไม่สำคัญว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่มันจะต้องเป็นสิ่งที่ตัวละครต้องการ อย่างจริงจัง ในการสร้างตัวละครขึ้นมาโดยเฉพาะตัวละครสำคัญ คุณต้องกำหนดเป้าหมายของเขาให้ได้อย่างชัดเจน
แรงจูงใจ ( motivation ) เป็น สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพฤติกรรมของตัวละคร เป็นสิ่งที่ทำให้ตัวละครมีเหตุผลที่จะทำบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา และเป็นสิ่งที่จะทำให้คนอ่านเข้าใจตัวละครมากขึ้น การสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละคร คุณต้องใส่แรงจูงใจให้เขา อย่างเหมาะสม และน่าเชื่อถือ และแรงจูงใจของตัวละครอาจจะมีหลาย ๆ อย่างพร้อมกันได้ในการผลักดันให้เขาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รุนแรงออกมา
ลักษณะของพล็อตจากสามสิ่งนี้
ตัว ละครจะต้องมีเป้าหมายบางอย่าง ซึ่งมันมาจากแรงจูงใจอันเป็นบางสิ่งในอดีตของตัวละครที่เป็นแรงผลักดันให้ เขาต้องการ เป้าหมายนั้นอย่างรุนแรง และความขัดแย้งหรือปัญหาก็อยู่ระหว่างกลางตัวละครกับเป้าหมายนี้ วิธีการที่ตอบโต้กับปัญหา และปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นลูกโซ่เกี่ยวพันสลับกันไป จนปรากฏผลสุดท้ายในที่สุด เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการสร้างพล็อตอย่างง่าย ๆ
   ( วิธีสร้างและเอาความขัดแย้งลงไปในเรื่องหาอ่านได้ในหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )
       ๘. การเขียน ๕ อย่างที่ต้องมีในทุกนวนิยายทุกเล่ม
นัก เขียนใหม่ มักจะมีปัญหาเสมอกับการเขียนลงไปในหน้ากระดาษ จด ๆ จ้อง อยู่นั่นแหละว่า จะเขียนลงไปอย่างไร จะเขียนยังไงมันจึงจะออกมาดี แต่หากจะแยกแยะการเขียนในนวนิยายทุกเรื่องแล้ว เราจะพบการเขียนอยู่ ๕ อย่างด้วยกัน ที่นักเขียนเขียนออกมาได้เป็นเล่ม คือ
๑. เขียนบทสนทนา เป็นการสนทนาของตัวละครโต้ตอบซึ่งกันและกันในฉากเหตุการณ์หนึ่ง ๆ
๒. เขียนบรรยายหรือพรรณนา ซึ่งอาจจะเป็นการบรรยายโดยตรง หรือบรรยายในระหว่างเกิดการกระทำขึ้นก็ได้
  - บรรยายถึงตัวละครสำคัญ
  - บรรยายถึงสถานที่สำคัญ
  - ยิ่งสองสิ่งนี้สำคัญมาก ก็ยิ่งต้องบรรยายมาก
๓. เขียนถึงความคิดของตัวละคร
  - ความคิดจากการใช้มุมมองของบุคคลที่ 3 เช่น เธอคิดว่าเธอไม่ควรจะบอกความจริงเรื่องครอบครัวให้เขาฟังเลย
  - ความคิดของบุคคลที่ 1 ในเรื่องที่ใช้มุมมองของบุคคลที่ 3 เช่น มาริสาล้มตัวลงนอนอย่างอ่อนเพลีย ฉันต้องเป็นหวัดแน่ ๆ เลย เธอคิด แล้วฉันจะไปสอบพรุ่งนี้ได้อย่างไร
  - การให้ข้อมูลโดยการบอกเล่าในห้วงคิดของตัวละคร เช่น มาลีทรุดตัวนั่งบนเตียงอย่างเหนื่อยอ่อน ฉันไปต่อไม่ไหวแล้ว เธอ คิด ตั้งแต่วันชัยเสียชีวิตลงเมื่อสิบปีที่แล้ว เธอต้องทำงานพิเศษเพิ่มมากขึ้น ทั้งทำงานเสริฟในตอนกลางคืน แล้วยังรับผ้ามาเย็บอีกในตอนกลางวัน เพื่อที่จะหาเลี้ยงลูก ๆ ถึงเจ็ดคน เธอเหนื่อยล้าเต็มที แล้วตอนนี้มันก็ถึงเวลาแล้วที่เธอต้องตัดสินใจทำตามข้อเสนอของทรงยศที่ต้อง การ ...( เล่าไปเรื่อย ๆ )
๔. เขียนบอกเล่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
ทรงยศ เดินออกมาถึงถนนใหญ่ มีรถวิ่งตรงเข้ามา เขาโบกมือ รถคันนั้นชะลอ
ความเร็วลงแล้วคนขับก็ยกปืนขึ้นเล็งยิงมาที่เขา
๕. เขียนบอกเล่าเพื่อให้ข้อมูล
ชาญ ชัยเคยแต่งงานมาแล้วสองครั้ง อดีตภรรยาทั้งสองของเขาเสียชีวิตที่หนองน้ำนี้เหมือนกัน มันเป็นเรื่องที่ผู้คนในหมู่บ้านต่างซุบซิบนินทากันว่า เขาอาจจะเป็นคนฆ่าเสียเอง
การ เขียนทั้งห้าอย่างนี้ นักเขียนจะเน้นอะไรมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับลีลาการเขียนของแต่ละคน ที่สำคัญคือต้องทำให้มันสมดุลกัน (เท่าที่สังเกตจากการอ่านของตัวเอง ถ้ามีเขียนบอกเล่ามากเกินไปในสิ่งที่ไม่จำเป็นก็มักจะเปิดผ่านๆไปแต่ไม่เคย ละเว้นบทสนทนาเลย) แต่ก็นั่นแหละ มันต้องสมดุลและเหมาะสม เขียนแล้วลองอ่านให้ตัวเองฟัง สังเกตว่าคุณให้น้ำหนักไปไหนส่วนไหนมากเกินไปหรือเปล่า
แบบฝึก ไป อ่านนวนิยายหลาย ๆ เรื่อง แล้วขีดเส้นใต้ดูว่า ในแต่ละย่อหน้าที่อ่านเป็นการเขียนแบบไหน เลือกเอาตอนที่คุณชอบไปเขียนในแบบที่ต่างออกไป ใน ๕ แบบข้างต้นแล้วอ่านดู
   (เนื้อหาส่วนนี้ ยกมาจากตอนหนึ่งของคำแนะนำในหัวข้อเขียนลงอย่างไรให้เป็นนวนิยายหนึ่งเรื่อง จากหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )
๙. Show don't Tell
เป็นวิธีการเขียนลงไปในหน้ากระดาษ ที่นักเขียนใหม่ถูกแนะนำเสมอว่า ให้แสดงให้เห็น อย่าเพียงแต่บอก (show don't tell) มันแตกต่างกันอย่างไรมาดู
วนิดา เดินเร็วขึ้นเพื่อให้พ้นจากซอยที่ทั้งมืดและเงียบด้วยความกลัว
ประโยคนี้บอกเราว่า วนิดากลัว นี่คือการ บอกหรือ tell
วนิดา กอดกระเป๋าแน่น หัวใจเธอเต้นเร็ว มองซ้ายขวาแล้วซอยเท้าถี่ยิบเพื่อให้พ้นจากซอยที่ทั้งมืดและเงียบโดยเร็ว
ประโยค นี้ จะแสดงให้เราเห็นว่า วนิดากลัว โดย ไม่ต้องบอกชื่อความรู้สึก (กลัว)ให้รู้ แต่คนอ่านคาดคะเนได้ว่าเธอกลัวจากการที่ เธอกอดกระเป๋าแน่น หัวใจเต้นเร็ว มองซ้ายขวา ซอยเท้าถี่ยิบ นี่ลักษณะของการแสดงให้เห็นหรือ show
แม้ว่าจะมีคำแนะนำอย่างนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า การเขียนแบบแสดงให้เห็น( show )จะดีกว่าการเขียนบอก (tell) เสมอ เพราะมันอยู่ที่วิธีเลือกใช้อย่างเหมาะสมต่างหาก ( มีคำแนะนำเพิ่มเติมในหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียนนวนิยายคุณเขียนได้ตัวเอง )
แบบฝึกหัด เขียนแสดงให้เห็นในเรื่องอารมณ์ต่อไปนี้
เด็กชายที่ถูกจับขังในห้องใต้ดินที่ทั้งมืดและเย็น เขียนแสดงให้เห็นว่า เขากลัว เขาตื่นเต้น เขาสนุก เขาโกรธ
สุภาพสตรีที่อยู่ในงานเลี้ยงหรูหรา เขียนแสดงให้เห็นว่า เธออาย เธอประหม่า เธอตื่นเต้น เธอสนุก เธอเบื่อ


๑๐. เปิดเรื่องอย่างไรให้น่าสน
การเขียนเปิดเรื่อง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเสมือนการเชิญชวนให้คนอ่านสนใจ เพราะร้อยทั้งร้อย เวลาคนอ่านเลือกซื้อนวนิยายสักเล่ม จะต้องเปิดอ่านบทแรกของเรื่อง หากนักเขียนสามารถสร้างความสนใจ หรือ สร้างความสงสัยใคร่รู้ให้กับคนอ่าน จนอยากจะรู้เรื่องต่อไปได้ ก็เท่ากับว่าได้รับความสำเร็จไปก้าวหนึ่งแล้ว มีบางคนถึงกับลงมือเขียนไม่ได้เพราะ ไม่รู้จะเขียนอะไรลงไปในตอนแรก ๆ บางคนก็มีอาการผวา หน้ากระดาษเปล่า ๆ จนไม่ได้เริ่มเขียนสักที แต่จะมัวคิดมาก และเห็นว่ามันสำคัญมากจนเป็นสาเหตุให้คุณไม่สามารถลงมือเขียนได้เสียที ก็ขอบอกว่า ลงมือเขียนลงไปก่อนเถอะ อย่าไปคิดมาก เขียนลงไปให้มันจบให้ได้ เพราะคุณมีเวลาเหลือเฟือ ที่จะกลับมาแก้ไข เปลี่ยนแปลง มันทีหลัง ดีกว่าจะกลัวจนไม่ได้เขียน หากยังติดขัดอยู่ก็ลองอ่านวิธีเขียนเปิดเรื่องของคนอื่นแต่ง แล้วลองปรับใช้ให้เป็นของคุณเองก็แล้วกัน ไม่มีสูตรสำเร็จในการเปิดเรื่องให้น่าสน จะมีก็แต่คำแนะนำง่าย ๆ ( แต่ทำได้ยาก ) ว่า
จงเปิดเรื่องที่จับคนอ่านให้ติดอยู่กับมันให้ได้ สร้างความสนใจ ความสงสัย การคาดคะเน หรือก่อให้เกิดคำถาม จนอยากจะเปิดอ่านหน้าต่อไป
นักเขียนต่างมีวิธีเปิดเรื่องแตกต่างกันไปดังนี้
•  เปิดเรื่องด้วยคำพูดของตัวละคร
•  เปิดเรื่องด้วยการพรรณนาฉากสถานที่และสิ่งแวดล้อม
•  เปิดเรื่องด้วยการบรรยายเหตุการณ์
•  เปิดเรื่องโดยจดหมาย ข้อความ หรือวลี ที่สร้างความสนใจ
•  เปิดเรื่องโดยพรรณนาถึงตัวละคร
•  เปิดเรื่องโดยบอกถึงประวัติของตัวละครหรือสถานที่
•  ฯลฯ
การเขียนเปิดเรื่องไม่ว่าจะเริ่มแบบไหน สิ่งสำคัญคือ อย่าเยิ่นเย่อ บรรยายยืดยาว หรือบอกเล่าถึงความหลังจนน่าเบื่อ ควรจะนำเข้าไปสู่เรื่องราวหรือเข้าถึงตัวละครให้เร็วที่สุด
แบบฝึกหัด
ให้อ่าน นวนิยายหลาย ๆ เรื่อง แล้วบันทึกการเขียนเปิดเรื่องของแต่ละเล่มไว้ แยกแยะดูว่า แบบไหนที่คุณชอบ ไม่ชอบ แล้วลองเขียนไปตามความคิดของคุณเอง

๑๑. การตรวจแก้ไขต้นฉบับ
เมื่อ เราเขียนนวนิยายจบแล้ว ใช่ว่าการเขียนหนังสือของเราจะจบลงเพียงแค่นั้น นักเขียนที่ดีมักจะทำการอ่านทบทวนตรวจแก้ผลงานตัวเองจนพอใจแล้วจึงจะนำออกไป สู่สาธารณะ และก็มีบางคนเหมือนกันที่คิดว่า ขั้นตอนนี้มันยากและน่าเบื่อเสียกว่าการเขียนในตอนแรกเป็นไหน ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไร นักเขียนใหม่อย่างเราต้องใส่ใจเอาไว้เลยว่า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ และควรทำทุกครั้งที่คุณเขียนต้นฉบับแรกเสร็จ มาเริ่มกัน
๑. วางแผน
ก่อนจะทำการตรวจแก้ควรจะวางแผนไว้เสียก่อนว่าจะตรวจทานเรื่องอะไรในการอ่านแต่ละครั้ง เช่น
  การ ตรวจแก้ไขครั้งที่หนึ่ง ดูโครงสร้างความไหลรื่นของเรื่องตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจนจบ ตัวละครมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โครงเรื่องย่อยสัมพันธ์กับโครงเรื่องใหญ่ไหม แต่ละบทมีเบ็ดเกี่ยวให้คนอ่านติดตามหรือเปล่า ฯลฯ
  การตรวจแก้ไขครั้งที่สอง เพื่อเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดหาย หรือตัดทิ้งในสิ่งที่ไม่จำเป็น
  การ ตรวจแก้ไขครั้งที่สาม ดูรายละเอียดไปทีละอย่าง ทีละบท ภาษาที่เลือกใช้เหมาะสมแล้วหรือยัง แสดงออกถึงความหมายที่ต้องการจะสื่อไหม ใช้คำซ้ำซากหรือเปล่า
  การตรวจแก้อีกครั้งหลังจากที่แก้ไขไปแล้ว
๒. จัดเตรียม
  - ต้นฉบับ พิมพ์งานเขียนออกมา หากคุณทำมันในคอมพิวเตอร์ การอ่านในกระดาษกับการอ่านจากจอมอนิเตอร์มันแตกต่างกัน แม้จะต้องใช้ต้นทุนมากขึ้น คุณก็ต้องยอม และถ้าหากคุณเขียนมันด้วยลายมือของคุณเอง ก็จงใช้เครื่องพิมพ์ดีด พิมพ์มันออกมา ด้วยวิธีการนี้จะทำให้คุณเห็นงานของคุณในมุมมองใหม่ ความผิดพลาดจะชัดเจนยิ่งขึ้น ความใกล้ชิดกับผลงานของคุณก็มีมากขึ้น เมื่อคุณสามารถที่ลบ ขีดฆ่า โยงเส้นสายได้ตามใจชอบของคุณและ เพื่อสายตาของคุณเอง อย่าพยายามตรวจแก้ในจอมอนิเตอร์เด็ดขาด
( ในการพิมพ์ ควรจะมีระยะห่างระหว่างบรรทัดมากกว่าปกติ และส่วนกั้นหน้าและหลังให้เหลือพื้นที่กระดาษมากพอที่คุณจะเขียนลงไปได้ )
  - ปากกา ควรจะมีปากกาต่างสีที่เขียนได้ลื่นคล่องมือ สักสองสามสี
  - สมุดเล่มเล็ก เพื่อจดเอาไว้ว่า จะต้องเพิ่มเติมอะไร หรือแก้ไขในตอนไหนบ้าง
๓. จัดตารางเวลา
ในการตรวจแก้ ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ กำหนดเวลาแล้วเสร็จด้วย
๔.ขณะที่ทำการตรวจแก้
ให้ แกล้งทำเป็นว่าคุณไม่เคยพบเห็นเรื่องนี้มาก่อนเลย ( จึงมีข้อแนะนำว่า หลังจากที่คุณเขียนหนังสือจบแล้ว ควรทิ้งมันไว้สัก 2-3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น แล้วจึงเอามาทำการตรวจแก้ ) อย่าอ่านด้วยความคิดว่าคุณคือคนเขียนเรื่อง แต่อ่านให้เหมือนกับคุณเป็นคนอ่านอื่น ๆ หรือเป็นนักวิจารณ์   
๕. อ่านดัง ๆ
เพื่อให้ตัวคุณเองได้ยินเสียงด้วย เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น จนจบ พร้อมกับตั้งคำถามไปด้วย เช่น
  - ตัวละครที่ปรากฏอยู่ตลอดทั้งเรื่อง ได้หายไปโดยไม่ได้อธิบายหรือเปล่า ( ตาย หรือเดินทางไปต่างประเทศ ฯลฯ )เพราะตัวละครไม่ควรจะหายไปจากเรื่องเสียเฉย ๆ
  - ตัวละครยังคงเหมือนเดิม หรือเปลี่ยนไปจากตอนต้นของเรื่องไหม ถ้าเปลี่ยน ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือเปล่า
  - ฉากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มี ได้ช่วยให้เกิดไอเดีย หรือสร้างบทบาทใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อจะเชื่อมไปยังตอนจบไหม
  - คุณพบวัตถุประสงค์ในเรื่องที่คุณต้องการเสนอแล้วหรือยัง ( หาแก่นเรื่องของตัวเองเจอไหม )
  - ฉากเหตุการณ์ ในแต่ละบทเหมาะสม และเขียนออกมาได้ดีหรือยัง
  - ตัวสะกด ภาษาที่ใช้ เหมาะสมถูกต้องเพียงใด
  - ฯลฯ
๖. ระหว่างที่อ่าน
คุณสามารถแก้ไขความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อยไปได้ด้วย เช่น ตัวสะกด การใช้ภาษา
๗. ทำเครื่องหมายดอกจันทร์
ไว้ที่ตอนที่คุณเห็นว่าควรจะปรับเปลี่ยน และเขียนความคิดที่จะเปลี่ยนเอาไว้ใจสมุดโน้ตด้วย
๘. เมื่ออ่านจบทั้งเรื่อง
ก็ ให้เริ่มอ่านใหม่ พร้อมทั้งเพิ่มเติม หรือตัดทิ้งสิ่งที่ต้องการแก้ไขได้ ขั้นตอนนี้อย่าได้ทำจนกว่าคุณจะอ่านตลอดทั้งเรื่องจบก่อน บางครั้งเรื่องราวก็ผูกโยงสัมพันธ์กัน ทำให้ต้องแก้เป็นทอด ๆ จงมั่นใจว่าคุณต้องการที่จะเพิ่ม หรือตัดตอนใดตอนหนึ่งทิ้งไปจริง แล้วไม่ลืมที่จะไปแก้ผลที่ตามมาตอนหลังด้วย ขอแนะนำว่า ควรจะอ่านซ้ำที่คุณต้องการเพิ่ม หรือตัดทิ้งให้ดีเสียก่อน แล้วจึงแก้ไปทีละบท ๆ
๙. อ่านอีกครั้ง
หลังจากที่คุณรวมทุกอย่างที่คุณแก้ไขเข้าด้วยกันแล้ว
๑๐. สิ่งที่คุณตัดทิ้ง หรือไม่ใช้แล้ว
ในหนังสือเล่มนี้ ไม่ควรจะทิ้งไปทันที ให้เก็บเข้าแฟ้ม “ ตัดทิ้ง ” เอาไว้เผื่อใช้เป็นประโยชน์ในเรื่องอื่นได้
๑๑. ในการตรวจแก้ อย่าไปเสียดาย
หรือ กลัวจะเสียเวลาที่จะตัดบางตอน หรือบางบททิ้งไปทั้งหมด นักเขียนบางคนเขียนลงไปเพราะรู้ในสิ่งที่เขียน หรืออาจจะรัก หรือสนุกกับตอนนั้น แต่เพราะการเขียน นวนิยายไม่ใช่การเขียนทุกสิ่งทุกอย่างลงไปในหนังสือ แต่เป็นการเขียนสิ่งที่สำคัญที่สุดลงไปในหนังสือ หากบทไหน ตอนไหน ไม่ได้สอดคล้อง หรือทำให้เรื่องมันสอดคล้องเดินหน้าไปตามที่วางจุดประสงค์ไว้ ก็ควรทิ้งมันไป เอาไปใส่ในหนังสือเล่มต่อไปของคุณก็ได้
๑๒. ยิ่งคุณตรวจแก้มากเท่าไหร่
งาน ของคุณก็จะออกมาดีมากเท่านั้น ( ไม่ใช่ยิ่งแก้ยิ่งเละนะ )สิ่งหนึ่งที่ต้องขอเน้น และทำความเข้าใจเพิ่มเติมก็คือ วิธีการตรวจแก้ หรือเรื่องที่จะแก้ไขนั้น นักเขียนแต่ละคนมีวิธีของตัวเองอาจจะไม่เหมือนใคร ไม่มีคำว่าถูกหรือผิดในการใช้แต่ละวิธี ตราบใดที่มันยังทำงานให้คุณได้ผล
เอามาจาก www.forwriter.com