ภาษาไทยกับการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ม.3

เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษา ค้นคว้า ของนักเรียนระดับ ม.3

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเขียนบันทึก
    การเขียนบันทึก  คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์
ความรู้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ
 วัน เวลาที่จดบันทึกได้ด้วย
     ประเภทของการเขียนบันทึก มี ๒ ประเภท ดังนี้
        ๑)การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็น
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยาย
ความรู้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็น
       ๒) การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราว
ส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทาง เพื่อ
เตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้สึก และข้อคิดเห็น
สิ่งที่ต้องมีในการบันทึกเหตุการณ์ คือ
๑)วัน เดือน ปี ที่บันทึก
๒)แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห็นมา
๓)บันทึกเรื่อง โดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตน ซึ่ง
อาจจะแสดงข้อคิดเห็น และสรุปไว้ด้วย
          การเขียนบันทึกจากการค้นคว้า เป็นการสร้างนิสัยรักการอ่าน
ฝึกย่อความป้องกันการลืม และประหยัดเวลา
๒. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก
    ๑) ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง
    ๒) บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ
    ๓) บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม
เป็นต้น
    ๔) ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรย่อ ขีด
เส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ
๓. วิธีการเขียนบันทึก
     ๑) ลำดับความให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่วกวน เช่น
         ตอนบ่ายง่วงนอนเพราะดูทีวีจนดึก จึงนั่งสัปหงก มาลีชวนไป
เล่นวิ่งเปี้ยวเลยหายง่วง เลิกเรียน  แล้วกลับบ้าน และช่วยคุณแม่ทำ
กับข้าว กลางคืนทำการบ้านเสร็จ แล้วรีบเข้านอน 
    ๒) ลำดับเหตุการณ์ เช่น
วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๑.๐๐ น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะฉันกำลังดูหนังสือ
เวลา ๑๑.๓๐ น. เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะโกนถามและบอกให้
ลดเสียง
เวลา ๑๑.๔๐ น. เสียงร้องเพลงดังมากขึ้นเหมือนจงใจจะแกล้งฉัน
เลยหยุดดูหนังสือ ไปทำงานอื่นแทน
     ๓) การเชื่อมโยง เช่น
  ตอนสายเสียงร้องเพลงดัง เวลาต่อมาเสียงร้องเพลงดังมากขึ้น ต่อ
มาจึงหยุดดูหนังสือ
    ๔) การเน้นใจความสำคัญ เช่น
  เริ่มเรื่อง ร้องเพลงเสียงดัง ตะโกนถาม ผล เสียงร้องเพลงดังขึ้น
  สรุป เลิกดูหนังสือ หันไปทำงานอื่น ผล เหตุการณ์สงบ
ตัวอย่างการเขียนบันทึกเหตุการณ์
       กระทรวงการคลังได้ข้อยุติในมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วย
เหลือ สังคม และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ
ไทย รมว. คลังได้สั่งให้กรมสรรพากรหักค่าลดหย่อนสำหรับการ
เลี้ยงดูบุพการี โดยคนที่เลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเอง สามารถนำค่าใช้
จ่ายที่เกิดขึ้นมาหักเป็น ค่าลดหย่อนได้ คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท โดย
บุพการีที่เลี้ยงดูนั้นไม่จำเป็น ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ตัวอย่างการเขียนบันทึกประจำวัน
        วันนี้ฉันไปโรงเรียนตั้งแต่ ๖.๕๔ น. เพื่อไปรดน้ำผักบุ้งที่แปลง
ผักหลังอาคารเรียน ฉันยืนมองผักบุ้งที่แตกยอดอวบงามแล้วรู้สึก
ภูมิใจมากที่ฉันสามารถปลูกผักได้งอกงามด้วยมือของตัวฉัน
       ๘.๐๐ น. เรียนวิชาภาษาไทยกับคุณครูอัญชลีพร วันนี้เราเรียน
เรื่องการใช้สำนวนภาษาในการสื่อสารกัน คุณครูอัญชลีพรให้ฉัน
ยกตัวอย่างสำนวน ๑ สำนวน ฉันยกตัวอย่างสำนวนว่า เป็นฟืน
เป็นไฟซึ่งหมายถึงอาการโกรธอย่างรุนแรง เพื่อนก็หัวเราะ และล้อ
ฉันว่าฉันคงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ถ้าหากใครไปทำให้แปลงผักบุ้ง  
 เสียหาย ฉันยิ้มรับและหัวเราะ

เทคนิคการเขียนบันทึกและประโยชน์ของการเขียนบันทึก
1.เขียนบรรยายสถานที่ที่เราไปในแต่ละวัน  ลมฟ้าอากาศในวันนั้นๆ (ฝึกการบรรยาย)
2.อธิบาย ความรู้สึกของเราในเหตุการณ์ต่างๆ หรือการพบปะกับผู้คน (ฝึกการสังเกตผู้คนและตนเอง ทำให้สามารถสร้างตัวละคร ได้อย่างมีมิติสมจริง  และฝึกการเขียนบทสนทนา  ในกรณีที่จดจำคำพูดที่ได้ยินได้ฟังมา  ซึ่งบางครั้งสร้างความประทับใจ  เศร้า ซึ้ง  โกรธ  เกลียด ซ้ำบางทีอาจได้ประโยคเด็ดจากบุคคลนั้นมาบันทึกไว้อีกด้วย)
3.เหตุการณ์ ประสบการณ์ที่เราพบเจอ  บางครั้งอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดพล๊อตเรื่องเด็ดได้อีกด้วย


อ่านต่อ : http://www.thaigoodview.com/node/18225

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณนะคะ
ที่ผ่านมา เวลาเขียนบันทึก เอาข้อความสำคัญๆ มาจากที่ต่างๆ ไม่ค่อยได้บอกแหล่งที่มาเลย